เมื่อมาถึงโรงเรียน วิถีไทย วิถีพุทธ เริ่มต้นวันด้วยวิถีชีวิตที่ดีงาม ไปลา – มาไหว้กราบพระประธาน สวัสดีทักทายครูและผู้ใหญ่ งานชีวิต เด็กๆ ฝึกการดูแลรับผิดชอบตนเอง ด้วยการจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ของตนเอง กระเป๋า รองเท้า พร้อมสำหรับการเรียนรู้ คงแก่เรียน คงแก่เล่น เด็กๆ ได้มีเวลาเล่นอย่างสร้างสรรค์ เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่สนามทราย ลานหนู ห้องสมุด
"วันพระ" เชิญผู้ปกครองร่วมทำบุญใส่บาตรกับลูกและครู สนับสนุนให้ลูก ออมเงินมาบำเพ็ญทาน สร้างวิถีชีวิตที่ดีงามตามหลักชาวพุทธ
ช่วงเช้า
การเข้าแถว นำเข้าสู่หลักไตรรงค์ สร้างสามัคคีธรรม ความเป็นสยามสามไตร เคารพธงชาติ สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย สมาทานหลักชาวพุทธ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา
ระลึกถึงคุณของมารดาบิดา ผู้มีพระคุณ ต่อด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญา บริหารร่างกายตามหลักดุลยภาพศาสตร์ ฝึกสร้างระเบียบวินัยตามช่วงวัน
หน้าแถว
- ทำวัตรเช้า ปฏิบัติธรรมประจำสัปดาห์ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม สยามสามไตรอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ดูแลจัดเก็บ แยกขยะ ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนตน
ส่วนรวม ห้องเรียน ห้องน้ำและบริเวณโดยรอบ
อนุบาลเข้าแถว ณ ลานหนู
- ละครธรรม ณ ลานหนู เป็นวันที่เด็กๆ รอคอยชมหรือร่วมแสดงกับครู เพื่อปลูกฝัง นำความรู้ สู่การปฏิบัติจริงตามนโยบายโรงเรียน หลักชาวพุทธ วันสำคัญต่างๆ และเพื่อฝึกการแสดงออกต่อชุมชน
วิทิสาสมาธิ แนวทางของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ช่วงที่ ๑
ของว่างเช้า ดื่มนมถั่วเหลือง และรับประทานผลไม้ตามฤดูกาล
กระบวนการทางปัญญา รู้เท่าทันตามความเป็นจริง
การเรียนรู้เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และรับรู้ที่ใจ)
ในเนื้อหาองค์ความรู้ทั้ง ๔ อันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชีวิต เชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งหมด ทั้งหมดปักธงพุทธเป็นห่างเป้าหมาย
องค์ความรู้ที่ ๑ “ธรรมชาติกับตัวของเรา”(กาย และ จิต)
องค์ความรู้ที่ ๒ “ธรรมชาติกับชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย-โลก”
องค์ความรู้ที่ ๓ “ธรรมะกับธรรมชาติ ไปถึงทั่วจักรวาล”
องค์ความรู้ที่ ๔ “ธรรมชาติกับวิวัฒน์วิทยาการเทคโนโลยี”
เปิดศักยภาพในมุมการเรียนรู้ การทำงานเสรี ทั้งกลุ่มย่อยและรายบุคคล แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือด้านวิชาการ และทักษะความสามารถที่หลากหลาย ด้านวิชาชีพ ทั้งในและนอกห้องเรียน