๒๕๒๓ เริ่มก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลหนูน้อย โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ
และคุณหญิงมัทนี โปษะกฤษณะ ตามคติพจน์ของบุพการีที่ท่านเขียนไว้ว่า ฝืนกระแสโลกได้ คือ การดำเนินตามรอยพระพุทธบาท และ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) และเข้าสู่ระบบการศึกษาแนวพุทธในปี ๒๕๔๒
๒๕๔๖ เริ่มขยายขึ้นระดับประถมศึกษาในชื่อ “บ้านพุทธประถม” และวางหลักสูตรเน้นวางรากฐาน ๓ วิถี ไว้ชัดเจน คือ
วิถีไทย วิถีธรรมชาติ และวิถีพุทธ อันเป็นแนวทางและรูปแบบที่ทรงคุณค่า สร้างเด็กไทยให้ดำรงความเป็นไทย
รักษาโลกธรรมชาติ สืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปสู่รุ่นลูกหลาน
๒๕๕๐ โครงการก่อสร้าง ”โรงเรียนสยามสามไตร” สำเร็จด้วยทุนบุญสนับสนุนจากผู้ปกครอง บุพการี ญาติมิตร
ออกแบบงานสถาปัตยกรรม โดยศิลปินแห่งชาติ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา พัฒนาหลักสูตรให้เกิดผลต่อเด็กเป็นรูปธรรมชัดเจน
ในแนววิถีชีวิต " คงแก่เล่น คงแก่เรียน คงแก่การทำงาน การเข้าสังคม โรงเรียนประถมศึกษาใหม่
บนผืนดินเดิม เปิดเรียนเป็นทางการด้วยชื่ออันเป็นมงคล สมบูรณ์ด้วยชื่อ " โรงเรียนสยามสามไตร "
ที่ขอรับจาก ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) สร้างพัฒนาระบบการศึกษาแนวพุุทธ ดังคำของท่านว่า
"การนำธัมมะลงสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสมจริง จะเป็นประโยชย์ต่อพหุชนชาวโลกอย่างมหาศาล" พร้อมกับที่ผู้อำนวยการหม่อมหลวงผกามาลย์ เกษมศรี
สร้างพัฒนาหลักสูตร ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งวิถีชีวิตประจำวัน - ประจำ สาระความรู้ ทักษะเชิงวิชาการทั้ง ๘ สาระของกระทรวงศึกษาธิการ
พร้อมกับสร้างค่ายฝึกตนอันเป็นเอกลักษณ์ ของสยามสามไตร ขึ้นประจำทุกระดับชั้น
รู้จักตนเอง เรียนรู้โลกรอบตัว มีจริยธรรม นำความสามารถ สู่ความสุข
ระบบการศึกษาแนวพุทธ และ พัฒนาหลักสูตรพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดสอนระดับเด็กเล็ก – อนุบาล – ประถม – มัธยม อายุ ๑.๖ – ๑๕ ปี
แบบโดย ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) พ.ศ. ๒๕๔๑
ปรากฏเป็นเอกลักษณ์ระบบการศึกษาแนวพุทธ
แผงอัตลักษณ์ ระบบการศึกษาแนวพุทธ การสร้างเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ “ด เป็น ฅ”
สูงสุดคือแผงสัญลักษณ์ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน องค์แทนบรมครู...พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้รับคัดเลือกส่งเข้าประกวดผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2551 โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์